บทวิเคราะห์


บทวิเคราะห์



คุณค่าด้านเนื้อหา
             ๑) คำนมัสการพระพุทธคุณ มีเนื้อหาสำคัญคือ การสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยกวีได้กล่าวยกย่องพระพุทธเจ้าไว้ว่า  ทรงพระพุทธเจ้าไว้ว่า  ทรงพระคุณอันประเสริฐ 3 ประการ  คือ
                                .๑) พระวิสุทธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงปราศจากกิเลส  และไม่เกี่ยวข้องกับความมัวหมองหรือราคีใด ๆ
                                   หนึ่งในพระทัยท่าน                    ก็เบิกบานคือดอกบัว
                              ราคีบพันพัว                                  สุวคนธกำจร

                                .๒) พระกรุณาธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงมีพระกรุณามากมาย เหมือนกับน้ำในมหาสมุทร  ทรงช่วยเหลือมนุษย์ให้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยการแนะแนวในการดับทุกข์  เพื่อมุ่งไปสู่ความสุขอันแท้จริง  คือ  พระนิพพาน
                                   องค์ใดประกอบด้วย                    พระกรุณาดังสาคร
                              โปรดหมู่ประชากร                           มละโอฆกันดาร
                                   ชี้ทางบรรเทาทุกข์                     และชี้สุขเกษมสานต์
                              ชี้ทางพระนฤพาน                            อันพ้นโศกวิโยคภัย
                                .๓)พระปัญญาธิคุณ  คือ  พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาญาณอันลึกซึ้ง  ทรงคิดค้นและทำความเข้าใจในทุกสิ่งที่ได้ทรงพบเสมอ
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล                         ก็เจนจบประจักษ์จริง

               พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่เราอย่างสูงสุด  เนื่องจากพระองค์ทรงแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงให้แก่มนุษย์  ทรงสั่งสอนให้มนุษย์กระทำแต่ความดี  ละเว้นความชั่ว  และประทานหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มนุษย์ประพฤติตนในทางที่ควร  ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข
                .)คำนมัสการพระธรรมคุณ  พระธรรม  คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว  ได้มีพระกรุณาแสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนสรรพสัตว์  เพื่อช่วยยกระดับจิตใจให้งดงามและทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  กวีจึงกล่าวสรรเสริญพระธรรมคุณว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความดี (คุณากร)  ที่ช่วยส่องทางสว่างให้แก่จิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
                                   ธรรมะคือคุณากร                         ส่วนชอบสาธร
                              ดุจดวงประทีปชัชวาล
                                   แห่งองค์พระศาสดาจารย์               ส่องสัตว์สันดาน
                              สว่างกระจ่างใจมนท์ ฯ
          ดังนั้นพระธรรมจึงมีพระคุณต่อพุทธศาสนิกชน  เนื่องจากการปฏิบัติตามหลักธรรมจะก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ทั้งตนเองและสังคม
                .) คำนมัสการพระสังฆคุณ  ถ้าพระพุทธองค์ไม่ได้สถาปนาคณะสงฆ์ขึ้น  หลักธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบจะสูญสิ้นไปพร้อมกับการปรินิพพาน  พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญและมีพระคุณโดยเฉพาะแก่พุทธศาสนิกชน  เพราะหากไม่มีพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา  ดังที่กวีกล่าวสรรเสริญไว้ว่า
                                   สงฆ์ใดสาวกศาสดา                    รับปฏิบัติมา
                              แต่องค์สมเด็จภควันต์
                                 สมญาเอารสทศพล                    มีคุณอนนต์
                              อเนกจะนับเหลือตรา
                .)คำนมัสการมาตาปิตุคุณ  บิดามารดา  เป็นผู้มีพระคุณแก่เราโดยตรง  เพราะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  ตั้งแต่เราเกิดมาท่านก็ให้ความรักความเมตตาเอาใจใส่ดูแลห่วงใยโดยบริสุทธิ์ใจ  คอยแนะนำตักเตือนชี้ทางที่ดีให้แก่เรา  เมื่อเราทุกข์หรือเจ็บไข้ได้ป่วย  ท่านก็ทุกข์ด้วย  แม้จะต้องทำงานด้วยความเหนื่อยยากก็ยอมสู้ทน 

คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง
                เนื่องด้วยความมุ่งหมายประการสำคัญ ของพระยาศรีสุนทรโวหารในการประพันธ์คำนมัสการคุณานุคุณ คือ การพรรณนานาคุณงามความดีที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา  และครูอาจารย์มีต่อชนทุกชั้น  ดังนั้น ถ้อยคำที่กวีนำมาใช้จึงต้องแฝงความหมายที่ดีงาม  และสามารถท่องจำได้โดยง่าย  เพื่อให้เยาวชนไทยได้ยึดถือเป็นแบบอย่างและซาบซึ้งไปกับเนื้อความซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องในทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีเนื้อหาที่ละเอียดลึกซึ้ง  แต่กวีก็สามารถพรรณนาถ้อยความและเลือกสรรถ้อยคำได้อย่างไพเราะจับใจ  และมีความดีเด่นในด้านกลวิธีการแต่ง ดังนี้
๑)       การเลือกสรรคำเหมาะกับเนื้อเรื่อง   กวีเลือกสรรถ้อยคำนำมาใช้ได้อย่างไพเราะเหมาะสม  โดยเฉพาะใน
บทนมัสการมาตาปิตุคณ  และนมัสการอาจริยคุณ  ซึ่งเป็นการพรรณนาพระคุณของบิดามาดา และครูอาจารย์ เป็นการใช้คำง่ายแต่มีความหมายลึกซึ้ง  เช่น  ในบทนมัสการมาตาปิตุคุณที่ว่า
ฟูมฟักทะนุถนอม               บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรๆ                            บ คิดยากลำบากกาย
 ตรากทนระคนทุกข์           ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                        จนได้รอดเป็นกายา

                กวีใช้คำว่า  ฟูมฟัก  ทะนุถนอม ตรากทน และถนอมเลี้ยง ซึ่งเป็นคำที่ไพเราะอ่านเข้าใจและรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของบิดามารดาซึ่งคอยประคับประคอง  ระวังรักษา และเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงดูลูกด้วยความอดทนโดยไม่ได้คิดถึงความยากลำบากตั้งแต่ลูกเล็กจนเติบใหญ่
                ในบทนมัสการอาจริยคุณที่ว่า

อนึ่งข้าคำนับน้อม               ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                         อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
 ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ         ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                            ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน

                คำว่า การุญ โอบเอื้อ เจือจุน อนุสาสน์และ ขยายอัตถ์  ที่กวีสรรมาใช้ได้อย่างไพเราะ เพื่อแสดงถึงความรัก และความเมตตาของครูอาจารย์   ที่เพียรพยายามสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีนั้น  ก่อให้เกิดความสำนึกและตระหนักถึงพระคุณของครูอาจารย์ได้เป็นอย่างดี
                ๒) การเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ  กวีใช้คำให้เกิดความงามและเสียงเสนาะในการอ่านออกเสียงโดยการใช้สัมผัสอักษรและสัมผัสสระ  เป็นการเพิ่มคุณค่าและความไพเราะให้บทกวี ดังนี้
                ๒.๑ สัมผัส  เนื่องจากการแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ  มีข้อจำกัดในเรื่องฉันทลักษณ์  กวีจึงต้องคิดสรรคำที่มีความหมาย  ได้ใจความ  และถูกต้องตรงตามเนื้อหาและลักษณะบังคับของคำประพันธ์ที่นำมาใช้  ซึ่งได้แก่ กาพย์ฉบัง๑๖ และโดยเฉพาะอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เพราะนอกจากจะมีกฎเกณฑ์ในเรื่องจำนวนคำและสัมผัสแล้ว  ยังต้องคำนึงถึงเรื่องเสียงหนัก-เบาของคำหรือครุ-ลหุอีกด้วย  จึงจะสามารถสร้างสรรค์บทกวีให้มีความไฟเราะและสละสลวยได้
                อย่างไรก็ตาม  แม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวข้างต้น  แต่พระยาศรีสุนทรโวหารก็สามารถเลือกสรรคำแล้วนำมาเรียบเรียงแต่งได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและข้อบังคับทางฉันทลักษณ์  และยังเพิ่มระดับความไฟเราะ  โดยอาศัยกลวิธีทางการประพันธ์  ซึ่งได้แก่  การเล่นสัมผัสใน  โดยเฉพาะสัมผัสอักษร เช่น
คำนมัสการพระพุทธคุณ
สุวิสุทธสันดานเล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ สุ-(วิ)  สุทธ-สัน(ดาน)
บมิหม่นมิหมองมัว”  เล่นเสียงสัมผัสอักษร  “”  คือ มิ- หม่น-มิ-หมอง-มัว
ก็เจนจบประจักษ์จริง”  เล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ เจน-จบ-(ประ) จักษ์-จริง
คำนมัสการพระธรรมคุณ
ส่องสัตว์สันดานเล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ ส่อง-สัตว์-สัน-ดาน
พิสุทธิ์พิเศษสุกใสเล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ (พิ) สุทธิ์-(พิ) เศษ-สุก-ใส
ข้อขอโอนอ่อนอุตมงค์เล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ  ข้า-ขอ
เล่นเสียงสัมผัสอักร คือ โอน-อ่อน-อุต (มงค์)
คำนมัสการพระสังฆคุณ
สงฆ์ใดสาวกศาสดาเล่นเสียงสัมผัสอักษร คือ สงฆ์-สา (วก) ศาส-สะ (ดา
คำนมัสการอาจริยคุณ
อนสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์เล่นเสียงสัมผัสอักษร ”  คือ (อนุ) สาสน์- สิ่ง-สรรพ์ เป็นต้น
                ๒.๒  การเล่นคำ   การเล่นคำในคำนมัสการคุณานุคุณ  โดยเฉพาะการเล่นคำซ้ำ  เป็นวิธีการอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เนื้อความที่มีการซ้ำคำมีความหมายที่เด่นชัด  ได้รับการเน้นย้ำและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญยิ่งมากขึ้น เช่น
                คำนมัสการพระพุทธคุณ มีการซ้ำคำว่า องค์ใดอันเป็นการเน้นหรือ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นบุคคลสำคัญและทรงมีพระจริยวัตรที่ดีเด่นเป็นอย่างมาก เช่น
องค์ใดพระสัมพุทธ          สุวิสุทธสันดาล
องค์ใดประกอบด้วย         พระกรุณาดังสาคร
                นอกจากนี้  พระยาศรีสุนทรโวหาร  ยังซ้ำคำว่า ชี้”  เพื่อแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นบรมครูผู้ชี้แนะแนวทางอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติ  คือ แนวทางอันเป็นการละเลิกกิเลศเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์  และมุ่งไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง และถาวร คือ พระนิพาน
ชี้ทางบรรเทาทุกข์               และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน               อันพันโศกวิโยคภัย
การเล่นคำซ้ำที่ดีเด่นอีกคำหนึ่ง  คือ คำว่า ข้า”  ในคำนมัสการพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ  อันเป็นการแดสงหรือเน้นย้ำว่าผู้ท่องหรือผู้สวดได้ตระหนักในความสำคัญและนอบน้อมกาย วาจา และใจ สำนึกและเคารพในพระคุณของพระพุทธ พระธรรม  และพระสงฆ์
คำนมัสการพระพุทธคุณ
ข้าขอประณตน้อม                       ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ-                                       ญภาพนั้นนิรันดร
คำนมัสการพระธรรมคุณ
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์                       นบธรรมจำนง
ด้วยจิตและกายวาจา
คำนมัสการพระสังฆคุณ
ข้าขอนบหมู่พระศรา-                        พกทรกคุณา
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์                        พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัติศัย
                อย่างไรก็ตาม   ยังมีการเล่นคำอีกอย่างหนึ่งซึ่งสื่อให้เห็นถึงความหมายอันลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ในคำ  และแสดงให้เห็นว่ากวียังมีความรู้ความสามารถ ในด้านภาษาและการประพันธ์เป็นอย่างมาก  เช่น คำว่า  “เอารสทศพล
สงฆ์ใดสาวกศาสดา                            รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สมญาเอารสทศพล                             มีคุณอนันต์
อเนกจะนับเหลือตรา
                คำว่า เอารสทศพล   แปลว่า   บุตรของพระพุทธเจ้า  ซึ่งหมายถึง  พระสงฆ์มีที่มา จากคำว่า เอารสหรือโอรส   ซึ่งแปลว่า บุตร  และทศพล หรือ ทศพลญาณ  ซึ่ง หมายถึงพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต  ๑๐ ประการ เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ประทานกำเนินพระสงฆ์ด้วยการอนุญาตให้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาภายใต้รุ่มกาสาวพัสตร์ อันเป็นการตัดชีวิตออกจากโลกแห่งกิเลศซึ่งเป็นโลกของปุถุชน เข้าสู่โลกแห่งพระธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเกิดใหม่ พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า
                ๓)  ภาพพจน์  กวีใช้การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนขึ้น  เช่นการเปรียบพระคุณของบิดามารดาว่ายิ่งใหญ่กว่าภูเขาและแผ่นดิน ดังความว่า
เปรียบหนักชนกคุณ                           ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                                          ก็ บ เทียบ บ เทียมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น